จากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เป็นไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก การเน้นนโยบายดูแลต้นทุนและลดค่าใช้จ่าย หรือแม้กระทั่งนโยบายให้พนักงานทำงานจากบ้าน (Work from Home) รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจและองค์กร จึงเป็นทางเลือกที่หลาย ๆ องค์กรปรับตัวใช้เพื่อให้เป็นผู้อยู่รอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว
จากวิกฤตเหตุการณ์นี้ จึงเหมือนเป็นโอกาสและจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กร ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่ว่านี้ก็คือ Cloud Computing ซึ่งถือเป็นอีกโซลูชันที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นของตนเอง (On-Premise) ช่วยให้องค์กรไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบขึ้นมาเอง อีกทั้งช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลรักษาระบบ ประหยัดเวลาและยังมีความยืดหยุ่นด้านค่าใช้จ่าย และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ ที่สำคัญช่วยในการดูแลต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย และให้ผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว
คลาวด์ (Cloud) เหมือนเป็นระบบที่อยู่บนก้อนเมฆก้อนหนึ่ง โดยผู้ใช้ที่มีสิทธิ์จะสามารถเข้าถึงระบบคลาวด์เพื่อเอาข้อมูลต่าง ๆ ขึ้นไปเก็บไว้ หรือเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวเพื่อเข้าไปค้นหาหรือดึงออกมาใช้เมื่อไรที่ไหนก็ได้ ขอเพียงผู้ใช้งานเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลในเมฆก้อนนั้นได้แล้ว
ในยุคที่ข้อมูลมหาศาลไหลเวียนอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนเกิดคำว่า “Big Data” บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความสนใจเลือกลงทุนระบบคลาวด์ มาจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในองค์กรให้สามารถเรียกมาใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
แต่บทบาทของ Cloud Computing มีมากกว่าแค่การจัดเก็บข้อมูล
Cloud Computing หรือในภาษาไทยอาจเรียกว่า การประมวลผลบนกลุ่มเมฆ คือเทคโนโลยีที่ให้คุณใช้ทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ การใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล ระบบออนไลน์ รวมทั้งทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์จากที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ลดความยุ่งยากในการติดตั้งและการดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของตนเอง
หมายความว่า ผู้ใช้บริการ Cloud Computing ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware และ Software เองทั้งระบบให้วุ่นวายอีกต่อไป ไม่ต้องวางระบบเครือข่ายเอง ลดความรับผิดชอบในการดูแลระบบลง อัพเกรดระบบได้ง่ายกว่า เพราะคลาวด์สามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้ในราคาที่ต่ำกว่า เพียงแค่ต่อเชื่อมเข้าไปใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บบราวเซอร์ หรือ Client แอพพลิเคชั่น บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตน เช่น มือถือ, Tablet, หรือ Notebook เป็นต้น
นี่คือความง่ายและยืดหยุ่นของเทคโนโลยี Cloud Computing ที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมไปถึงสถาบันการศึกษา บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั้งเล็กและใหญ่ ให้ความสนใจและเริ่มลงทุนนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้งานในองค์กร เพราะสามารถลดความยุ่งยากทั้งหลาย ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ในระยะยาว
มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้บริษัทและองค์กรต่าง ๆ หันมาใช้ระบบคลาวด์ ไฮไลท์บางส่วนของ Cloud Computing สำหรับธุรกิจมีดังนี้
แม้ Cloud Computing อาจไม่สามารถตอบโจทย์ทุกธุรกิจได้ สิ่งสำคัญคือการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย เพื่อเลือกใช้โซลูชั่นที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณมากที่สุด ว่า Cloud Computing จะสามารถเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจได้สูงสุดอย่างไร
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ มีเหตุผลที่ดีหลายประการในการปรับปรุงและโอนย้ายกิจกรรมทางเทคโนโลยีไปสู่สภาพแวดล้อมของ Cloud Computing ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยิ่งเมื่อเทียบกับการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการทำงานจากระยะไกลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องได้รับผลตอบแทนสมเหตุสมผลเหมาะสมกับราคาที่จ่ายไป คำถามคือ ระยะเวลาคืนทุนโดยเฉลี่ยของการเปลี่ยนไปใช้ระบบ Cloud Computing คือเท่าไร? ในปีแรก กระแสเงินสดมักจะติดลบเนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเสียไปกับการย้ายข้อมูล กระทั่งในอีก 3-5 ปีต่อมา คุณจะสังเกตเห็นกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่เป็นบวกจากการลงทุนของคุณ ภายใต้แผนการโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ที่มีแบบแผนอย่างดี
เทคโนโลยี Cloud Computing สามารถช่วยประหยัดต้นทุน มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ช่วยเพิ่มระดับความสามารถในการทำงาน ด้วยการเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ ทุกเวลา แถมยังช่วยลดต้นทุน ลดเวลา ลดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากร และลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการด้านไอทีขององค์กร นับเป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจอย่างไม่ต้องสงสัย
การเลือกที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจของคุณไปใช้ระบบคลาวด์นั้น จากมุมมองที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและกลยุทธ์ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (COVID-19) ที่ทำให้เกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้พนักงานจำนวนมากต้องทำงานจากระยะไกล
ข่าวสาร และบทความ 5 ฟีเจอร์สำคัญของซอฟต์แวร์ Endpoint M… Continue reading 5 ฟีเจอร์สำคัญของซอฟต์แวร์ Endpoint Management ที่องค์กรต้องมี
ข่าวสาร และบทความ ทำไมธุรกิจต้องใช้ Endpoint Management… Continue reading ทำไมธุรกิจต้องใช้ Endpoint Management? ข้อดีและกรณีศึกษา
ข่าวสาร และบทความ การบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoi… Continue reading การบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) อย่างมีการบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรยุคดิจิทัล
ข่าวสาร และบทความ ความปลอดภัยของการเข้าถึงระยะไกล: KODE… Continue reading ความปลอดภัยของการเข้าถึงระยะไกล: KODE Endpoint ช่วยปกป้องข้อมูลของคุณอย่างไร?