บริการคลาวด์ แบบ Infrastructure as a service (IaaS) คืออะไร

ดังที่ท่านอาจเคยได้ทราบกันมาบ้างแล้วว่า ได้มีการแบ่งการประมวลผลแบบคลาวด์ ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. IaaS (Infrastructure as a Service) ซึ่งเหมาะสำหรับบริหารจัดการตั้งแต่ระดับ Infrastructure ขึ้นไป 2. Paas (Platform as a Service) จะสามารถบริหารจัดการในระดับ Application Container โดยมักจะถูกใช้งานร่วมกับ Database Service นิยมเรียกว่า DaaS (Database as a Service) จากบริการในปัจจุบันจะเห็นว่ามันคือการเอา Application Server มาให้บริการอยู่บนการประมวลผลแบบคลาวด์นั่นเอง และสุดท้าย 3. SaaS (Software as a Service) จะเป็นบริการประเภทที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจสิ่งใดเลย ไม่ว่าเป็น Infrastructure, Server, Network แม้กระทั่งในระดับ Application Container และ Database Service แต่จะสนใจเพียงแค่ตัว Application ว่าทำงานได้ตรงตามความต้องการ รองรับตามจำนวนผู้ใช้งาน และมีความทนทานต่อเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติได้

Table of Contents

บริการคลาวด์ แบบ Infrastructure as a service (IaaS) คืออะไร?

บริการคลาวด์ แบบ Infrastructure as a service (IaaS) เป็นบริการคลาวด์ที่เหมาะกับสายงาน Operation หรือสำหรับองค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนทางด้าน Hardware ให้บริการครอบคลุมเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวณผล (processing unit) , เครือข่ายข้อมูล (network) , ระบบเก็บข้อมูล (storage) หรือพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ (hosting) เป็นต้น ซึ่งผู้ให้บริการจะรับผิดชอบดูแลให้ โดยที่ผู้ใช้บริการ IaaS ไม่ต้องลงทุนสิ่งเหล่านี้เอง ช่วยให้ลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเองได้ ผู้ใช้บริการ IaaS จะมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอที สามารถเลือกใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างเหมาะสม ปรับขยายหรือลดขนาดได้ตามความต้องการหรือนโยบายขององค์กร

ระบบคลาวด์แบบ IaaS สามารถเลือกทรัพยากร (Resource) ที่ต้องการตามความต้องการได้ ช่วยให้เราจ่ายเฉพาะสิ่งที่เราใช้ และยังช่วยให้เราหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนของการซื้อและจัดการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเราเองและโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลอื่นๆ ทรัพยากรแต่ละรายการจะถูกนําเสนอเป็นส่วนประกอบบริการแยกต่างหาก และเราต้องเช่าทรัพยากรเฉพาะตามเท่าที่เราต้องการ โดยผู้ให้บริการการประมวลผลระบบคลาวด์แบบ IaaS เช่น Microsoft Azure, Amazon Web Services, Google Compute Engine จะจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบให้ ในขณะที่เราต้องติดตั้ง กําหนดค่า และจัดการซอฟต์แวร์ของเราเอง เช่น ระบบปฏิบัติการ (Windows) และแอปพลิเคชันที่จำเป็นเอง

ธุรกิจหรืองานที่เหมาะกับการใช้งานระบบคลาวด์แบบ IaaS

ก่อนจะพูดถึงรูปแบบของบริการ Cloud Computing ในแบบต่าง ๆ เรามาดูรูปแบบของ On-premise System กันก่อน เพื่อที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง On-premise และ Cloud Computing ได้ชัดเจนขึ้น ว่าทำไม Cloud Computing ถึงมีบทบาทมาก ทั้งการใช้งานส่วนบุคคลและการใช้งานในองค์กร

งานพัฒนาและทดสอบระบบหรือโปรแกรม

โดยทีมพัฒนาสามารถตั้งค่าและปรับเปลี่ยนการทดสอบและการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทําให้แอปพลิเคชันใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพราะระบบคลาวด์แบบ IaaS สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วในการปรับขนาดของทรัพยากรที่ใช้งานของการทดสอบและพัฒนา

การทำเว็บโฮสติ้ง
การเรียกใช้เว็บไซต์โดยใช้ระบบคลาวด์แบบ IaaS เราสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรที่เว็บไซต์ต้องใช้งานรวมถึงมั่นใจได้ว่าเว็บไซต์ของเราสามารถออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และโอกาสที่เว็บไซต์ของเราจะล่มนั้นมีโอกาสน้อยมาก แต่อาจจะมีราคาแพงกว่าเว็บโฮสติ้งแบบดั้งเดิม
ทำเป็นที่เก็บข้อมูล การสํารองข้อมูล และการกู้คืน
บางองค์กรพยายามลดค่าใช้จ่ายในด้านการจัดเก็บข้อมูล ระบบคลาวด์แบบ IaaS จึงมีประโยชน์สําหรับการจัดการความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขององค์กร นอกจากนี้ยังสามารถทําให้การวางแผนการจัดการระบบสํารองข้อมูลและการกู้คืนได้ง่ายขึ้น
การใช้งาน Web Application
ระบบคลาวด์แบบ IaaS มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสนับสนุนเว็บแอพรวมถึงที่เก็บข้อมูล และแอปพลิเคชันและระบบเครือข่าย องค์กรสามารถใช้งานเว็บแอปบน ระบบคลาวด์แบบ IaaS ได้อย่างรวดเร็วและปรับเปลี่ยนตามโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างง่ายดายเมื่อความต้องการทรัพยากรของแอพไม่เพียงพอหรือต้องการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
งานที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
โดยเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหรือการคํานวณนับล้าน ยกตัวอย่างเช่นการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศ การสร้างแบบจําลองทางการเงินและการประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data
ระบบคลาวด์แบบ IaaS สามารถกำหนดทรัพยากรและการตั้งค่าต่างๆ ให้เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้ และยังช่วยลดต้นทุนในการซื้อเครื่อง Server มาใช้งานด้วย

ข้อดีของระบบคลาวด์แบบ IaaS

  • ลดค่าใช้จ่ายด้านและลดต้นทุนเนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่อง Server, Storage และระบบ Network ระบบคลาวด์แบบ IaaS จึงเป็นตัวเลือกที่ประหยัดสําหรับการใช้งาน
  • มีระบบความปลอดภัยที่ดีของข้อมูลและยังพร้อมใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงในกรณีปกติ
  • สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว การย้ายไปสู่เพลตฟอร์มหรือบริการอื่นทำได้โดยง่าย
  • ตอบสนองต่อสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนไปได้รวดเร็วขึ้น IaaS ช่วยให้เราสามารถขยายทรัพยากรเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสําหรับแอปพลิเคชั่นของเราโดยปรับขึ้นลงได้ตามความต้องการ
  • สามารถมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักของเราได้มากกว่าที่จะต้องมุ่งเน้นไปกับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
  • เพิ่มความเสถียร ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการสนับสนุน โดยเราไม่จําเป็นต้องบํารุงรักษาและอัปเกรดซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หรือแก้ไขปัญหาอุปกรณ์เอง เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลเอง

ข้อสังเกตของระบบคลาวด์แบบ IaaS

  • ค่าใช้จ่ายสูงเกินความจำเป็น ในกรณีที่เรากำหนดทรัพยากรที่ใช้งานมากกว่าที่ใช้งานจริง
  • ในกรณีที่ทางฝั่งผู้ให้บริการระบบคลาวด์เกิดปัญหา จะทำให้ทางฝั่งเราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้
  • มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลของเราได้
  • ค่าใชจ่ายในการลงทุนซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ค่อนข้างซับซ้อน เพราะยังต้องใช้รูปแบบเดิมในการจัดการ
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเรื่องความรู้และเทคโนโลยีสูง เพราะมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้มาก มีความละเอียดซับซ้อน

สรุป

Cloud Computing จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับ องค์กร บริษัท ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในการหาช่องทางช่วยในการลดต้นทุน ช่วยประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการลงทุน การสร้างระบบคอมพิวเตอร์ การบำรุงรักษาในระยะยาว และการบริหารจัดการด้านไอทีเอง เป็นเทรนด์ที่น่าจับตาในปี 2021 นี้ ที่น่าจะเป็นอีกคำตอบที่ทำให้องค์กรหรือหน่วยงานมีความยืดหยุ่นที่เพิ่มมากขึ้น ลดความยุ่งยากในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถขยับตัวเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งและทันท่วงที